บทที่ 9 เทคนิคการระบายอากาศ

การระบายอากาศกับการทำงานในพื้นที่อับอากาศ

การระบายอากาศ (Ventilation) คือ

การกระทำเพื่อให้มีการอากาศบริเวณนั้นเกิดการไหลเวียน ถ่ายเท ขยับ ไม่นิ่ง ของอากาศในพื้นที่ทำงานงานที่อับอากาศ เพื่อให้คนทำงานได้มีอากาศใช้ในการหายใจ และเป็นการกำจัดบรรยากาศที่เป็นอันตรายต่างๆที่อยู่ในอากาศให้หมดไป ออกไปจากตรงนั้น ฝุ่น ความร้อน สารเคมีที่เข้มเกินมาตรฐาน

ทำไมต้องมีการระบายอากาศ

อ้างอิงกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศพ.ศ.2562 ข้อที่6 (4) กล่าวไว้ว่า ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัด บันทึกผลการตรวจวัด และประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศก่อนให้ลูกจ้างเข้าไปทำงานและในระหว่างที่ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ หากพบว่ามีสภาวะที่เป็นบรรยากาศอันตราย ให้นายจ้างดำเนินการ ดังต่อไปนี้

            (1) ห้ามบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ

            (2) กรณีที่มีลูกจ้างอยู่ระหว่างการทำงานในที่อับกาศ ให้ลูกจ้างออกจากบริเวณนั้นทันที

            (3) ประเมินและค้นหาสาเหตุของการเกิดบรรยากาศอันตราย

            (4) ดำเนินการเพื่อทำให้สภาพอากาศในที่อับอากาศนั้นไม่มีบรรยากาศอันตราย เช่น การระบายอากาศหรือการปฏิบัติตามมารตการอื่นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้าง

ฉะนั้นอ้างอิงจากกฎหมายข้างต้น หากให้เราใช้เครื่องตรวจวัดและพบบรรยากาศที่เป็นอันตราย เราต้องแก้ไขให้จุดนั้นไม่มีบรรยากาศที่เป็นอันตราย เช่นปริมาณออกซิเจนน้อยเกินไป หรือสารเคมีมีความเข้มมากเกินไป กฎหมายแนะนำให้เราใช้พัดลมในการดำเนินการแก้ไข

ข้อควรระวังในการทำงานในการใช้พัดลมมาระบายอากาศนั้น อาจมีที่อับอากาศบางสถานที่ ห้ามมีระบายอากาศโดยเด็ดขาด เช่น บริเวณนั้นมีสารไวไฟอยู่ปริมาณมาก อาจมีการใส่อีกสารเข้าไปแทนที่ เช่นตรวจพบค่า LEL 100% ก็จะมีการใส่สารไนโตรเจนเข้าไปแทนที่แบบ 100% เช่นกัน จุดบริเวณก็จะไม่มีออกซิเจนเลย เพื่อป้องกันการติดไฟในจุดบริเวณทำงาน และผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม ขณะเข้าไปทำงาน

 

กรณีศึกษา

7 พฤษภาคม 2560 จังหวัดพัทลุง คนงานลงไปทำงานรื้อไม้ค้ำแบบถังประปาภูเขาเสียชีวิต 3 ราย เนื่องจากการขาดอากาศ เพราะขณะทำงาน ไม่มีการใช้พัดลมในการระบายอากาศ

 

 7 เมย 2557 ระยอง อำเภอมาบยางพร จังหวัดระยอง คนงานรับจ้างลงไปล้างบ่อเก็บน้ำบาดาลเสียชีวิต 4ราย เพราะขณะทำงาน ไม่มีการใช้พัดลมในการระบายอากาศ

 

 

การระบายอากาศนั้นยังแยกออกได้อีกเป็น 2 ประเภทคือ

   1 การระบายอากาศแบบธรรมชาติ                                                         

            

    2 การระบายทางกล            

  

 1 การระบายอากาศแบบธรรมชาติ จะอาศัยลมที่พัดตามธรรมชาติที่มีอยู่บนโลกเราอยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เปิดกว้าง มีความเสี่ยงน้อยเรื่องของบรรยากาศอันตรายน้อย แต่มีอันตรายจากสภาพการทำงานมากกว่าเช่น ดินถล่ม ไฟดูด ของตกใส่ศีรษะ

2 การระบายแบบใช้เครื่องมือกล คือ ในพื้นที่ทำงานนั้นอาจมีหรือมีแก็สพิษ (Toxic gas) หรือ มีค่าการติดไฟ LEL ซึ่งโดย 2 ค่านี้จะมีความหนักเบาของมวลก๊าซ หรือ มีภาวะออกซิเจนที่ต่ำไม่เพียงพอที่จะหายใจขณะอยู่ในพื้นที่อับอากาศ จะต้องอาศัยการระบายทางกลเข้ามาช่วย เช่นใช้พัดลมเป็นต้น

ประโยชน์ของการระบาย

1 ช่วยลดและกำจัดมลพิษที่ในบริเวณการทำงาน

2 ช่วยลดความร้อนจากการทำงาน เช่นงานเตาเผา ต้องระบายอากาศล่วงหน้า ก่อนการทำงาน

3 ช่วยเพิ่มปริมาณของออกซิเจนในพื้นที่ทำงานให้เพียงตามกฎหมาย 19.5-23.5 %

4 กำจัดและเจือจางสารไวไฟที่สะสมในพื้นที่ทำงาน ให้ต่ำกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

5 การจัดฝุ่น ที่ติดไฟได้ และฝุ่นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่นฝุ่นแป้งสาลี หรือฝุ่นปูนต์

6 เวลาทำงาน ทำให้เราเย็นสบาย ทำงานไม่มีเหงื่อ

 

ประเภทอุปกรณ์ที่ใช้ในการระบายอากาศ

                  

 

 

พัดลมประเภทนี้ต้องอาศัยแหล่งจ่ายลม นั่นก็คือ Air compressor ผลิตลมและนำจ่ายให้กับพัดลม ซึ่งอาจเป็นข้อดีของพัดลมประเภทนี้คือไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าไปขับมอเตอร์ สามารถไประบายตรงจุดไหน บริเวณไหนก็ได้ เพราะไม่ใช้ไฟฟ้า และพัดลมประเภทนี้ให้ปริมาณที่มาก กว่าพัดลมทั่วๆไป เวลาใช้งานอย่าลืมต่อสายกราวด์ดินไฟฟ้าด้วย เพราะเวลาทำงานจะไฟฟ้าสถิตสะสมที่ตัวท่อสำหรับการระบายอากาศที่มีสารไวไฟ

 

 Axial fan เป็นพัดลมที่อาศัยกำลังไฟฟ้า ไปขับเคลื่อนมอเตอร์ให้ทำงาน มีหลายขนาดให้เลือก ตามกำลังไฟฟ้า และขนาดของหน้ากว้างพัดลม เช่น 6นิ้ว 8 นิ้ว 12 นิ้ว 24นิ้ว พัดลมมีกำลังแรงดันต่ำเมื่อเทียบกับข้างต้น แต่ข้อดีอาจเป็นการที่เคลื่อนย้ายง่าย ติดตั้งง่าย เพราะขนาดที่ไม่ใหญ่มาก และน้ำหนักไม่มาก และมีท่อมาสวมซึ่งตรงนี้อาจเป็นอีกหนึ่งในข้อดี ที่สามารถปรับงอท่อ ไปในทิศทางที่เราต้องการได้ เพราะท่อเป็นพรากติก

Visitors: 97,830